วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชา162661


การเรียนการสอนในรายวิชานี้ประกอบด้วย
การพัฒนาทักษะและความรู้เป็นรายบุคคล
การพัฒนาทักษะและความรู้เป็นกลุ่มในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1.การพัฒนาตนเองเพื่อบริหารจัดการเรียนรู้โดยการใช้เครื่องมือในการเรียนและฝึกปฏิบัติด้วย KU-LMS: MAXLEARN ซึ่งข้อความรู้ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติคือ เทคโนโลยีช่วยให้การเรียนรู้และการพัฒนาตนเองไม่จำเป็นต้องเรียนหรือปฏิบัติเพียงในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติดังกล่าวจะต้องเปิดใจยอมรับกับรูปแบบการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนบนโลกกว้างอย่างง่าย สะดวกและรวดเร็ว
2.การสร้าง Web Site ของตนเองโดยใช้ pirun.ku.ac.th เป็นการสร้างหัวเรื่องในการเรียนรู้ที่ฝึกให้ใช้เครื่องมือที่อาจารย์สอนตลอดเวลาด้วยการลองผิดลองถูกฝึกฝนการปฏิบัติซ้ำๆ ซึ่งข้อความรู้ที่ได้รับในด้านเนื้อหา ประกอบ ความรู้เรื่อง อินเทอร์เนตคืออะไร มีวิวัฒนาการอย่างไร องค์ประกอบของอินเทอร์เนต แล้วเราจะนำคุณค่าของอินเทอร์เนตมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการทำงานได้อย่างไรซึ่งปรากฏแล้วในผลงานการทำ web Siteดังกล่าว
จึงอาจกล่าวได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์ศึกษาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ตลอดชีวิตอย่างสะดวกและเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยความทันสมัยเพราะง่ายในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยจัดกลุ่มของผู้ใช้ ได้ดังนี้
ผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือค้นคว้าหาความรู้พัฒนาตนเอง
ผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือแหล่งเรียนรู้เผยแพร่ความรู้ที่ตนเองเรียนรู้มาสู่เพื่อนหรือผู้ที่สนใจ โดยจะต้องศึกษาเชิงลึกว่าในความหมายของศัพท์พื้นฐานทางเทคโนโลยีมีอะไรบ้างและมีหน้าที่อย่างไร เราจะนำมาเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการใดได้บ้าง
ผู้ที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการงานในองค์กรที่ความรับผิดชอบ
ทักษะ ในการทำงานชิ้นนี้เป็นทักษะที่ทำให้เกิดศักยภาพใน วิธีการศึกษาเป็นกุศโลบายใช้เทคฯโลยีเป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและวิเคราะห์ข้อความรู้เมื่อนำมาอภิปรายกับสมาชิกทำให้เปิดกว้างในการยอมรับความคิดเห็นจากสมาชิกเพื่อสรุปเป็นแนวทางเดียวกัน

ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
เป็นความรู้ของโปรแกรมต่าง ๆ และคุณสมบัติของเครื่องมือที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถ้าต้องการความชำนายต้องฝึกเพิ่มเติมนอกห้องเรียน เช่น เมื่อเก็บข้อมูลจะต้องจัดระเบียบเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานครั้งต่อไป เมื่อ สร้างงานแล้วจะต้องปรับปรุงให้เกิดรูปแบบที่ดีและสวยงามด้วยการจัดหน้ากระดาษ ปรับปรุงตัวหนังสือ ตกแต่งให้สีกับงานอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
ทักษะ ความสามรถในการใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ เช่นวิธีการทำหน้า Web Site จะต้องเริ่มด้วยการวางแผนโดยการใช้ Power point เพื่อทำ Site map กำหนดรูปแบบหรือนำสกุลของแต่ละชุดเพื่อจัดทำเนื้อหาให้สอดคล้องจากนั้นเลือกภาพที่จะวางเป็นภาพหน้าจอ Web Siteโดยไม่ลืมที่จะ Slide เพื่อให้เกิดความสมดุลของภาพ จากการปฎิบัติและการเกิดการเรียนรู้สิ่งที่เป็นทักษะติดตัวมาในขณะนี้คือ การทำงานด้วยความรอบคอบและเป็นขั้นตอนต้องฝึกปฏิบัติและกล้าที่จะลองทำเพื่อเกิดการระวังและค้นพบ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดหลักสูตรรายวิชาและการจัดการเรียนการสอน กล่าวได้ว่า
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานนั้นคือ แนวคิดทฤษฏีความเชื่อ ซึ่งสามารถศึกษาได้ทั้งตัวทฤษฎีจากกรณีตัวอย่าง ซึ่งเป็นแนวทางว่าเราจะประมวลหลักสูตรดังกล่าวเพื่อนำไปใช้มีหลักการในการปฏิบัติอย่างไร
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครือข่ายข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เราได้ศึกษาทิศทางการพัฒนาของประเทศและแนวทางการศึกษาในการพัฒนาพลเมือง
3. เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือช่วยให้เราศึกษาข้อมูลในเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการเดินทางและค่าใช้จ่าย
4. เทคโนโลยีสารสนเทศมีตัวอย่างให้เราได้ศึกษาเป็นตัวอย่างเพื่อระวัง ป้องกันและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสูด
โดยสรุปได้ว่า
ช่วยครูให้สร้างและสามารถแลกเปลี่ยนสื่อ แผนการสอนกับเพื่อนครูได้ มีโอกาส อภิปรายความก้าวหน้ากับนักเรียนได้ตลอดเวลา
ช่วยให้นักเรียนเก็บงานในรูปแบบ E - Portfolio พัฒนาทักษะและความสามารถในการสื่อสารและสร้างสรรค์ผลงานการเรียนได้หลากหลายรูปแบบปรับปรุงงานได้ตลอดเวลา
ผู้ปกครองติดตามความก้าวหน้าของลูก ดูผลการเรียนและติดต่อสอบถามกับครูและฝ่ายบริหารได้สะดวก
ผู้บริหารได้รับข้อมูลนักเรียนที่เป็นปัจจุบันเห็นความก้าวหน้า ติดต่อครูและผู้ปกครองได้สะดวก
จึงทำให้โรงเรียนหรือองค์กรทางการศึกษาสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงได้ทันสมัยตลอดเวลา
เมื่อเราเชื่อว่าการจัดการศึกษาสามารถจัดได้ทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน มีรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เปิดกว้างให้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ตลอดเวลา ครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาจึงต้องทบทวนและหาวิธีการเพื่อตอบสนองต่อลักษณะดังกล่าว โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง หรือเรียนร่วมกับระบบการเรียน โดยมีลักษณะที่ยืดหยุ่น และสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลาอีกทั้งการประเมินผลสามารถทำได้ทันทีและปรับปรุงตนเองได้ทันทีเช่นกัน
จึงกล่าวได้ว่าคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ให้การศึกษาเปิดกว้างและตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างแท้จริง
หลักสูตรแห่งชาติในหลายประเทศได้กำหนดความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนและครูโดยนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนในหลายรูปแบบ เช่นทักษะการใช้อินเทอร์เนต เวปไซด์แหล่งการเรียนรู้ ความช่วยเหลือออนไลน์ ได้รับการ ฝึกอบรมโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนแหล่งค้นคว้าโดยมีการติดตามและประเมินผลด้วยระบบ Electronic Portfolio ในทุกระยะและจบหลักสูตร
ในขณะที่ครูผู้สอน สามารถลดความเสี่ยงในการทดลองโดยอาจใช้คอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์ ให้นักเรียนใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาทำให้นักเรียนสามารถทดลองได้หลายครั้งและปลอดภัย จนเกิดองค์ความรู้สามารถกลับไปดูได้อีก ซึ่งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
สร้างสื่อที่ช่วยดึงดูดความสนใจ ผู้เรียน สามารถเอาไปศึกษาที่บ้านได้ โดยศึกษาและเก็บรวบรวมได้ตามความต้องการของผู้เรียนและปรับแก้ไขได้ ในบางรายวิชามีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของภาษาในสถานการณ์จริงโดยไม่ต้องเดินทางทำให้เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนได้ปฎิบัติจริง อีกทั้งช่วยให้เราสามารถเอื้อต่อกลุ่มเด็กที่มีลักษณะพิเศษโดยไม่แบ่งแยก

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน เมื่อหลักสูตรเป็นแนวทางในการประมวลประสบการณ์ต่าง ๆ สาระข้อความรู้ต่างๆเพื่อพัฒนาเด็กหรือเยาวชนให้มีคุณลักษณะตามที่ประเทศชาติต้องการ หลักสูตรจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อนำไปปฏิบัติไปจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย
บทเรียนซึ่งเมื่อนำคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้จึงเกิดเป็นบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนออนไลน์ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่เด็กหรือเยาวชน โดยเลือกวิธีสอนว่าเราจะใช้วิธีการใด
1. บรรยาย
2. สาธิต
3.มอบงานให้ทำ
4.ฝึกฏิบัติ
5.ฝึกโดยมีผู้แนะนำ
6.กิจกรรม
จะใช้สื่อการเรียนการสอนด้วย เพลง เกม ประกอบด้วย แสง สี เสียง และมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยจะประเมินผลด้วยวิธีการอย่างไร อาจจะทั้งประเมินก่อนหรือหลังหรือเป็นระยะ ๆ
ความรู้และทักษะที่ได้จากการปฏิบัติในชั้นเรียน
การพัฒนาสื่อกิจกรรมอิเลคทรอนิค
ข้อความรู้ Hot Potatoes เป็นชุดโปรแกรมสร้างกิจกรรม เช่น
J CLOZE สามารถเติมตัวในช่องว่าง
J QUIZE เลือกตอบ คิดเปลี่ยนแปลงได้ 4 รูปแบบ
J CROSS ปริศนาตัวอักษรไขว้
J MIX ผสมคำเป็นประโยค
J MATCH จับคู่และจัดลำดับ
ซึ่งข้อความรู้ดังกล่าวเมื่ลองนำไปปฏิบัติจะทำให้ผู้เรียน เกิดความเข้าใจและพบว่า ผู้เรียนต้องฝึกทำบ่อยๆซึ่งพบว่าในระดับอนุบาลการใช้สื่อประเภทนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองในการเล่นด้วยกันดังนั้นจะต้องมีการให้ความรู้กับผู้ปกครองไปพร้อมๆกันตลอดเวลา อีกทั้งการสร้างต้อง เน้นในเรื่องของการใช้รูปภาพ
ทักษะที่เกิดขึ้นในขณะที่ลองทำคือความมั่นใจที่จะกดแป้นและคลิกเมาส์มากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้นความชำนาญ แต่เชื่อมั่นว่าเมื่อได้เรียนและมีโอกาสฝึกหัดย่อมทำให้เกิดการพัฒนาทักษะขึ้นได้ในที่สุด

ความรู้จากกิจกรรมในรายวิชา
กิจกรรมการทำ Web Site ข้อความรู้ในการแบ่งกรอบแนวตั้ง เมนูด้านขวา ซ้ายมือ ซึ่งมีข้อควรระวังเสมอด้วย เมื่อเปิดแล้วจะต้องปิดด้วย ข้อความเหมือนกันแต่ว่ามี / ข้างหน้าของข้อความสุดท้าย

ในการจัดเก็บไฟล์
เลือก File: Save as
เปลี่ยน Save as type เป็น All file
ดึงข้อ File ให้มีนามสกุล html เช่น index.html. กดปุ่ม Save เป็นต้น
ทักษะ
· สร้างเครื่องมือในการรวบรวมผลงานของตนเอง
· ทำแฟ้มข้อมูลของตนเอง
· เชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการค้นคว้าได้อย่างต่อเนื่อง
· สร้างแหล่งข้อมูลที่เป็นพื้นฐานของหน่วยงานและขอบข่ายงานที่ปฏิบัติ

กิจกรรมการศึกษาแนวใหม่ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางหลักสูตรและการสอนกับเทคโนโลยีร่วมสมัย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีทางหลักสูตรทางการสอน
ข้อความรู้ประกอบด้วยพัฒนาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นด้านเครื่องมือซึ่งมีขนาดใหญ่ราคาแพงและมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อการทหาร แต่ได้พัฒนาจนกลายเป็นระบบการใช้ที่ประกอบด้วยเครื่องมือราคาถูกที่ทุกบ้านหาซื้อได้และมีวัตถุประสงค์หลากหลายเอื้อประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้าและการศึกษา เมื่อเครือข่ายกว้างขวาง สะดวก รวดเร็วทำให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ในวงการศึกษาทั้งระบบก่อให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งข้อมูล เปิดโลกทัศน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐาน สนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลตามความต้องการพื้นฐาน ในรูปแบบที่เลือกได้ จัดเป็นกระบวนการการเรียนการสอนที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน พัฒนาตนและประเมินได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรมคือทักษะในการจับใจความภาษาอังกฤษเพื่อนำประเด็นสำคัญมาวิเคราะห์และนำเสนอกับกลุ่มร่วมอภิปรายเพิ่มเติมความคิดเป็นกระบวนการทำงานกลุ่มที่จะต้องยอมรับฟังและความคิดเพิ่มเติมของกลุ่ม

การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานคือ
1.พัฒนาตนเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศปรับปรุงงานสอน เช่นฝึกหัดการทำ E-Courseในรายวิชา คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.จะต้องเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับนักศึกษาโดยทำ Web Site ของตนเองในมหาวิทยาลัย
3.พัฒนางานเขียนที่เป็นองค์ความรู้ในรายวิชาเพื่อการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น
4. พัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ความรู้กับผู้กครอง

ไม่มีความคิดเห็น: