วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อิทธิพลดนตรีที่ไม่ควรปฏิเสธ


ในยามหลับของคนเรามีสองสิ่งที่ไม่อาจสั่งการให้ปฏิเสธได้นั้นคือ การรับรู้เรื่องกลิ่นและเสียง แต่เราเลือกที่จะรับได้ถ้าเราจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยสองสิ่งนี้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเสียงเนื่องจากเสียงมีอิธิพลต่อสมองซึ่งสมองจะหลั่งสารเคมีที่มีผลต่อความรู้สึก เป็นตัวกระตุ้นทำให้ปลายสมองเกิดการแตกปลายประสาทเป็นการเพิ่มเครื่องมือทำให้เกิดความสามารถในการรับรู้ เก็บข้อมูลเป็นทุน ได้เป็นจำนวนมาก ย่อมมีบางเรื่องหรือหลายๆเรื่องที่สอดคล้องกันทำให้เกิดการพัฒนาเป็นความรู้ใหม่และนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในขณะเดียวกันก็มีสารที่เรียกว่าสารยับยั้ง โดยสารเคมีทั้งสองตัวนี้ช่วยให้เด็กมีสมาธิอยากเรียนรู้แล้วสารเคมีเหล่านี้จะเกิดเมื่อไหร่ เขาบอกว่าจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งดีๆที่สมดั่งใจปารถนา ได้ทำสิ่งดีๆที่ใจต้องการ ได้รับสัมผัสดีที่รู้สึกอบอุ่น ได้รับฟังคำพูดดีๆที่ทำให้กำลังใจ ดังนั้นเสียงที่กล่าวถึงจึงไม่ใช่เพียงเสียงแหลม หรือเสียงทุ้มล้วนๆแต่หมายถึงเสียงที่ผสมผสานจนเกิดรสชาติการฟังที่กลมกล่อมนั้นคือเสียงดนตรี (ศิลปะแห่งเส้นเสียงที่เราเลียนแบบธรรมชาติแล้วพัฒนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการสื่อความหมาย ในพิธีกรรม ในการแสดงความสามัคคีเป็นหมู่คณะ ของวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ในขณะที่ยังใช้ภาษามือและการเปล่งเสียง บอ บา แบะ เบอะ )มีข้อแม้ว่าต้องไม่ใช่ดนตรีที่ถูกบังคับ สารเอนโดฟินจะหลั่งออกมาทำให้เกิดความสุขที่ทำให้สมองเกิดความสมดุลทั้งสองซีก เป็นทุนของการเรียนรู้ที่คุ้มค่า แล้วเราควรเริ่มเมื่อไหร่ ยิ่งเร็วยิ่งดี ถ้าเราเชื่อว่าปลูกพืชต้องเตรียมดินฉันใด พัฒนาคนต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ ฉันนั้น แม่ฟัง แม่รับรู้ แม่มีความสุขถ่ายโยงสู่ลูก ลูกรับรู้ลูกมีความสุข เด็กวัยแรกเกิดถึง5ปี เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องซึ่งแต่ละขั้นมีผลต่อขั้นตอนในลำดับถัดไป ดังนั้นถ้าเสียงดนตรีมีคุณค่าวางรากฐานที่ดีดังที่กล่าวมาแล้วเราจะละเลยการจัดสภาพด้วยเสียงดนตรีที่เอื่อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร วันนี้เรา สร้างเด็กอารมณ์ดี จิตใจอ่อนโยนสมองมีเครื่องมือที่ดีต่อการเก็บข้อมูลเป็นทุน ย่อมมองเห็นภาพอนาคตของประเทศที่มีพลเมืองที่มีคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: